วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

โทษ คอนแทคเลนส์แฟชั่น




คอนแทคเลนส์ หรือ เลนส์สัมผัส จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อปรับสายตา แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเอาคอนแทคเลนส์มาใช้สวมใส่เพื่อความสวยงาม ซึ่งมีทั้งแบบที่ทำให้ดวงตาดูกลมโตขึ้น และแบบที่ช่วยเปลี่ยนสีตาเป็นสีต่าง ๆ ได้ กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี ปัจจุบันคอนแทคเลนส์แฟชั่นไม่ได้มีวางจำหน่ายแต่เฉพาะในร้านแว่นตา หรือคลินิกจักษุแพทย์เท่านั้น แต่ยังมีวางขายตามแผงค้าตามแหล่งแฟชั่น รวมไปถึงการวางจำหน่ายในเว็บไซต์ ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อคอนแทคเลนส์แฟชั่นมาสวมใส่ได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าจะใช้คอนแทคเลนส์เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม เลนส์ที่ใช้จะต้องสัมผัสกับผิวของดวงตาที่บอบบาง การติดเชื้อหรือฉีกขาดอาจเกิดได้ง่าย จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้คอนแทคเลนส์หากใช้ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ และอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ เหมือนกับข่าวเมื่อปลายปี 49 ที่ผ่านมา ที่มีชายชาวนิวซีแลนด์ที่ตาบจากการสวมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อความสนุกสนานในงานปาร์ตี้ จนเกิดการติดเชื้อหลังสวมใส่คอนแทคเลนส์นาน 3 วัน ทั้งนี้การใส่คอนแทคเลนส์จะต้องได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ โดยผู้สวมใส่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ หรือนักทัศนมาตรศาสตร์ หรือคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้จัดทำมาตรการกำกับดูแลคอนแทคเลนส์ทุกประเภทให้เข้มงวดมากขึ้น โดยได้จัดทำร่างประกาศกำหนดให้คอนแทคเลนส์ทุกประเภท เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า จะต้องแจ้งรายละเอียดต่ออย.ก่อนผลิตหรือนำเข้า อีกทั้งกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าต้องจำหน่ายคอนแทคเลนส์ให้กับสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น เช่น สถานพยาบาล ผู้บริโภคไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์ที่จำหน่ายตามแผงลอย เพราะอาจเป็นอันตรายถึงตาบอดได้ นอกจากนี้ อย. ยังได้กำหนดให้ฉลากของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะต้องมีคำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังต่าง ๆ บนฉลากอย่างชัดเจน นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ประชาชนควรระมัดระวังการใช้คอนแทคเลนส์ทุกชนิด โดยไม่ควรซื้อมาใช้เอง และซื้อจากร้านที่เป็นแผงลอย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด และหากมีภาวะผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กะพริบตาไม่เต็มที่ ก็ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ สิ่งที่สำคัญที่ต้องระลึกถึงอยู่เสมอคือเรื่องสุขลักษณะ ต้องล้างมือให้สะอาดและทำให้แห้งก่อนสัมผัสเลนส์ การสวมและการเปลี่ยนเลนส์ก็ให้เป็นไปตามระยะที่กำหนด การล้างและการเก็บรักษาเลนส์ก็ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนภาชนะที่เก็บเลนส์ก็ต้องรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับบุคคลอื่น ห้ามใส่ขณะว่ายน้ำเพราะอาจทำให้ติดเชื้อที่ตา และห้ามใส่เวลานอน ถึงแม้ว่าจะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม และต้องถอดทำความสะอาดทุกวัน หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมาก ร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัวลง น้ำตาไหล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น